วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การเกิดเมฆ

เมฆ...การเกิดเมฆและชนิดของเมฆ

แม้ว่าเมฆจะเป็นสิ่งที่หลายคนคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น วาดรูปธรรมชาติทีไรก็มักจะวาดรูปเมฆทุกครั้ง แต่ทราบไหมว่าเมฆที่เราวาดนั้นมีชื่อเรียกด้วยนะ ลองอ่านเรื่องของเมฆและชนิดของเมฆต่อไปนี้ จะได้เข้าใจมากขึ้น



เมฆนั้นเกิดมาจากละอองน้ำขนาดเล็กมากจำนวนนับพันๆล้านหยดและเบามากจนล่องลอยไปในอากาศได้ เมฆเริ่มต้นมาจากอากาศชื้นที่ถูกแสงอาทิตย์แผดเผาจนร้อน และเนื่องจากอากาศร้อนเบากว่าอากาศเย็น ดังนั้น มันจึงลอยสูงขึ้นไปในท้องฟ้า จากนั้นอากาศร้อนจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็กๆ ซึ่งจะรวมกลุ่มกันเป็นก้อนเมฆที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจนในที่สุดหนักเกินกว่าที่จะล่องลอยไปในอากาศได้ก็จะตกลงมาเป็นฝน

ขั้นตอนการเกิดเมฆ 
1.เมฆจะเกิดขึ้นได้เมื่ออากาศร้อนชื้น 
2.เมื่อถูกแผดเผาด้วยแสงอาทิตย์อากาศชื้นจะลอยสูงขึ้น เหมือนกับฟองสบู่ที่เราเป่าออกมา 
3.สูงขึ้นไปบนท้องฟ้า อากาศจะหนาวเย็น ดังนั้นอากาศร้อนที่ลอยขึ้นไปจะถูกทำให้เย็นลงกลายเป็นหยดน้ำขนาดเล็กที่ประกอบกันเป็นกลุ่มเมฆ 
4.เมื่ออากาศร้อนลอยขึ้นไปเหนือทะเล ทะเลสาบ และแม่น้ำ มันจะนำพาน้ำไปด้วย อากาศร้อนจะนำเอาน้ำมาจากพืช ซึ่งขึ้นอยู่บนพื้นดินไปด้วยเช่นกัน 
5.เมื่ออากาศร้อนชื้นลอยสูงขึ้นไปอยู่เหนือเทือกเขา จะปะทะกับอากาศเย็นเหนือเทือกเขา และเปลี่ยนเป็นเมฆ ซึ่งประกอบด้วยละอองน้ำขนาดเล็ก เมื่อรวมตัวเข้าด้วยกันมากขึ้นก็จะทำให้เกิดเป็นเม็ดฝน

เมฆชนิดต่างๆ
เมฆมีรูปร่างลักษณะและขนาดแตกต่างกัน บางทีเป็นปุยใหญ่ๆ บางทีก็เป็นริ้วบางๆขึ้นอยู่กับว่ามันก่อตัวขึ้นจากหยดน้ำหรือผลึกน้ำแข็ง นักอุตุนิยมวิทยาจำแนกเมฆชนิดต่าง ๆ ตามความสูงที่มันก่อตัวและรูปร่างลักษณะของมันว่าแผ่ออกเป็นแผ่นกว้าง(เมฆสเตรทัส) หรือ จับตัวกันเป็นกลุ่มก้อน(เมฆคิวมูลัส) สามารถจำแนกเมฆได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ

1. เมฆกลุ่มก้อน หรือเมฆสำลี หรือเมฆคิวมูลัส (Cumulus : Cu)


ก้อนเมฆคิวมูลัสสังเกตได้ง่ายมากเป็นเมฆในระดับต่ำ มีลักษณะเป็นก้อนคล้ายปุยฝ้ายรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน สีขาว ที่เรามักพบเห็น ในยามที่อากาศดี ท้องฟ้าแจ่มใส เมฆชนิดนี้มองดูเหมือนปุยสำลีลอยอยู่บนท้องฟ้าและมีรูปร่าง เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เมฆที่มีรูปร่างเหมือนปุยสำลีก้อนนี้ แสดงให้เห็นว่า "หยดน้ำจิ๋ว" ถูกลมพัดให้มีรูปร่างเปลี่ยนแปลง ไปเรื่อยๆ บางครั้งอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นจนทำให้เกิดเป็นเมฆฝนฟ้าคะนองได้ เมฆคิวมูลัสอยู่สูงจากตัวเราประมาณ 500 เมตร

เมฆคิวมูลัสเกิดขึ้นเมื่ออากาศชื้นได้รับความร้อนจากแสงแดดและลอยตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อลอยสูงขึ้นไปกระทบชั้นบรรยากาศข้างบนที่เย็นกว่า ไอน้ำจึงเกิดการกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำขนาดจิ๋วๆ

2. เมฆแผ่นหรือเมฆสเตรทัส (Stratus : St)


สตราตัสในภาษาละติน แปลว่า เป็นชั้นๆ จะก่อตัวเป็นชั้นบางๆและมักจะอยู่ภายใต้ระดับความสูง 2,500 เมตร เป็นเมฆที่ก่อตัวเป็นชั้นเหมือนผ้าแถบ แต่เรามักจะไม่ค่อยเห็นเมฆสเตรทัสเกิดเป็นชั้นๆตามชื่อ กลับจะเห็นเป็นเมฆสีเทาไม่มีรูปร่าง และมักแผ่เป็นแผ่นกว้างใหญ่ออกไปทุกทิศทุกทาง บางทีอาจแผ่ไปไกลหลายร้อยกิโลเมตร

เมฆสเตรทัสซึ่งหนาเป็นชั้นๆ จะลอยตัวอยู่ในระดับต่ำใกล้พื้นดิน บางครั้งเมื่อเรามองผ่านเมฆสเตรทัสนี้ขึ้นไป จะเห็นดวงอาทิตย์เป็น วงกลมๆสีเงินยวงสวยงาม

เมฆชนิดนี้ก่อตัวขึ้นมาเมื่อชั้นอากาศที่ชื้นและร้อนลอยตัวสูงขึ้นอย่างช้าๆเหนือมวลอากาศเย็นเบื้องล่าง

3. เมฆริ้ว หรือเมฆหางม้า หรือเมฆเซอร์รัส (Cirrus : Ci)


เซอร์รัสในภาษาละติน แปลว่า ลอยลูกคลื่น มักจะพบเห็นอยู่ในบรรยากาศระดับสูง (เหนือ 6,000 เมตร) สูงกว่าเมฆทุกชนิด และอาจมีความยาวหลายร้อยกิโลเมตร

เมฆเซอร์รัสเป็นเมฆที่ก่อตัวอยู่ในระดับสูงที่สุด มีลักษณะเป็นเส้นๆคล้ายใยไหมหรือเป็นริ้วบางๆหยิกหยองเป็นปอยเหมือนขนนก หรือบางครั้งมองเห็นเป็นริ้วโค้งๆยาวพาดกลางท้องฟ้า ลอยตัวอยู่ในบรรยากาศระดับสูงมากบนท้องฟ้า อุณหภูมิของอากาศบนนั้นหนาวจัดจนเมฆชนิดนี้ประกอบด้วยผลึกน้ำแข็งขนาดจิ๋วแทนที่จะเป็นหยดน้ำ บางครั้งอาจเรียกว่าเมฆหางม้า เพราะกระแสลมแรงจัดเบื้องบนพัดจนกลุ่มเมฆกระจายออกเป็นริ้วโค้งๆเหมือนกับหางของม้า

เมฆเซอร์รัสเป็นที่ปรากฎอยู่สูงขึ้นไปบนท้องฟ้า บ่งบอกว่าข้างบนโน้นมีลมแรงจัดมากเมฆชนิดนี้เป็นสัญญาณแสดงว่าอากาศแปรปรวนและอากาศอาจกำลังกำลังเลวลง

ชนิดของเมฆ
เมฆต่างชนิดเหล่านี้อาจรวมตัวทำให้มีรูปร่างผสมระหว่างเมฆ 2 ประเภท เกิดเป็นเมฆชนิดใหม่ขึ้นหลายชนิด ซึ่งรวมทั้งสิ้นแล้วจะมีเมฆประมาณ 10 ชนิด

เมฆเซอร์โรคิวมูลัส (Cirrocumulus : Cc)



เมฆก้อนกระจุกเล็กๆแผ่เป็นแนวสีขาวประกอบขึ้นด้วย ผลึกน้ำแข็งเหล่านี้ มักเกาะตัวเป็นกลุ่มเรียงกันเหมือนกับ เกล็ดปลาแมกเคอเรลเรียกในภาษาอังกฤษว่า " mackerel sky " ส่วนบนของเมฆคิวมูโลนิมบัส มองดูเหมือนกับรูปทั่งน้ำแข็ง

เมฆเซอร์โรสเตรทัส (Cirrostratus : Cs)


เมฆที่อยู่สูงมากๆมักขึ้นด้วยคำว่า "เซอร์โร" เมฆเซอร์โรสเตรทัสเกิดจากผลึกน้ำแข็งเป็นเมฆ สีขาวโปร่งแสง บางครั้งจะปรากฏวงแหวนสีสวยงามขึ้นในเมฆเซอร์โรสเตรทัสหรือเมฆอัลโทรเตรทัสที่อยู่สูงๆ



เมฆนิมโบสเตรทัส (Nimbostratus : Ns)


เมฆหนาเป็นชั้นชนิดนี้ก่อตัวอยู่ในระดับต่ำๆและอาจมีความหนามาก เมฆนิมโบสเตรทัส อาจทำให้เกิดฝน หรือหิมะตกหนักติดต่อกันนานเป็นชั่วโมงๆ จึงมักเรียกกันว่า "เมฆฝน"



เมฆสเตรโทคิวมูลัส (Stratocumulus : Sc)


ถ้าเรามองเห็นเมฆก่อตัวเป็นม้วนยาวๆ ในระดับความสูงปานกลางล่ะก็ มักแสดงว่าอากาศกำลังจะดีขึ้น เมฆชนิดนี้ก็คือเมฆคิวมูลัสที่ แผ่ออกเป็นชั้นๆนั่นเอง



เมฆอัลโทสเตรทัส (Altostratus : As)


เมฆที่อยู่สูงระดับปานกลาง จะขึ้นต้นด้วยคำว่า "อัลโท" เมฆอัลโทสเตรทัสเป็นผืน เมฆแผ่นที่ประกอบด้วยหยดน้ำ



เมฆอัลโทคิวมูลัส (Altocumulus : Ac)


เมฆอัลโทคิวมูลัส คือเมฆคิวมูลัสที่เกิดในระดับ ความสูงปานกลาง และมีลักษณะเป็นแผ่น มองเห็นคล้ายกับก้อนสำลีแบนๆ ก้อนเล็กๆมาเรียงต่อๆ กัน เป็นคลื่นหรือเป็นรอน



เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus : Cb)


เมฆชนิดนี้มีรูปร่างเป็นหอคอยสูง เสียดฟ้า ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนอง หรือพายุได้และอาจรุนแรงจนกลาย เป็นพายุทอร์นาโดหรือที่เรียกว่า "เมฆฟ้าคะนอง"ได้ เมฆคิวมูโลนิมบัสขนาดใหญ่ๆ อาจสูงกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์เสียอีก

สีของเมฆ 

สีของเมฆนั้นบ่งบอกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเมฆ ซึ่งเมฆเกิดจากไอน้ำลอยตัวขึ้นสู่ที่สูง เย็นตัวลง และควบแน่นเป็นละอองน้ำขนาดเล็ก ละอองน้ำเหล่านี้มีความหนาแน่นสูง แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องทะลุผ่านไปได้ไกลภายในกลุ่มละอองน้ำนี้ จึงเกิดการสะท้อนของแสงทำให้เราเห็นเป็นก้อนเมฆสีขาว 

ในขณะที่ก้อนเมฆกลั่นตัวหนาแน่นขึ้น และเมื่อละอองน้ำเกิดการรวมตัวขนาดใหญ่ขึ้นจนในที่สุดตกลงมาเป็นฝน ในระหว่างกระบวนการนี้ละอองน้ำในก้อนเมฆซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีช่องว่างระหว่างหยดน้ำมากขึ้น ทำให้แสงสามารถส่องทะลุผ่านไปได้มากขึ้น ซึ่งถ้าก้อนเมฆนั้นมีขนาดใหญ่พอ และช่องว่างระหว่างหยดน้ำนั้นมากพอ แสงที่ผ่านเข้าไปก็จะถูกซึมซับไปในก้อนเมฆและสะท้อนกลับออกมาน้อยมาก ซึ่งการซึมซับและการสะท้อนของแสงนี้ส่งผลให้เราเห็นเมฆตั้งแต่ สีขาว สีเทา ไปจนถึง สีดำ 

โดยสีของเมฆนั้นสามารถใช้ในการบอกสภาพอากาศได้ 

- เมฆสีเขียวจางๆ นั้นเกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์เมื่อตกกระทบน้ำแข็ง เมฆคิวมูโลนิมบัส ที่มีสีเขียวนั้นบ่งบอกถึงการก่อตัวของ พายุฝน พายุลูกเห็บ ลมที่รุนแรง หรือ พายุทอร์นาโด 

- เมฆสีเหลือง ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยครั้ง แต่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงช่วงต้นของฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดไฟป่าได้ง่าย โดยสีเหลืองนั้นเกิดจากฝุ่นควันในอากาศ 

- เมฆสีแดง สีส้ม หรือ สีชมพู นั้นโดยปกติเกิดในช่วง พระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตก โดยเกิดจากการกระเจิงของแสงในชั้นบรรยากาศ ไม่ได้เกิดจากเมฆโดยตรง เมฆเพียงเป็นตัวสะท้อนแสงนี้เท่านั้น แต่ในกรณีที่มีพายุฝนขนาดใหญ่ในช่วงเดียวกันจะทำให้เห็นเมฆเป็นสีแดงเข้มเหมือนสีเลือด






วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ลมบก ลมทะเล

  ลมบกและลมทะเล เกิดจากความร้อนซึ่งแตกต่างกันระหว่างบริเวณทะเลและพื้นดิน ตามชายฝั่งใน

 

ตอนเช้าและ ตอนบ่าย เวลากลางวันผืนแผ่นดินตามชายฝั่งได้รับรังสี จากดวงอาทิตย์ ทำให้มีอุณหภูมิ

 

สูงกว่าบริเวณทะเล ดังนั้นอากาศในบริเวณแผ่นดิน จึงมีความแน่นน้อยกว่า และความกดก็ลดลงด้วยจึง

 

ลอยตัวขึ้น ดังนั้นอากาศเย็น ตาม บริเวณทะเลจะพัดเข้ามาแทนที่ ลมซึ่งพัดจากทะเลนี้เรียกว่า "ลม

 

ทะเล" (sea breeze) ซึ่งเกิดขึ้นในตอน บ่ายและเย็น นอกจากตามชายฝั่งทะเลแล้ว ลักษณะคล้ายลม

 

ทะเลนี้อาจจะเกิดขึ้นตามทะเลสาบใหญ่ๆก็ได้ ส่วนมากลมบก (land breeze) นั้นเกิดขึ้นในทิศตรงกัน

 

ข้ามกับทะเล และมีกำลังแรงน้อยกว่าเก่า คือในตอน กลางคืนพื้นน้ำมีอุณหภูมิสูงกว่าผืนแผ่นดิน ดังนั้น

 

อากาศในบริเวณทะเลซึ่งมีความแน่นน้อยกว่าจะลอยตัวขึ้น อากาศเย็น ในบริเวณแผ่นดินจะพัดออกไป

 

แทนที่จากความรู้เรื่องลมบกลมทะเลนี้ชาวประมงได้อาศัยกำลังของ ลม ดังกล่าวเป็นเครื่องช่วยในการ

 

แล่นเรือเข้า หรือออก จากฝั่งได้ดีในการดำเนินอาชีพหาปลาของเขา

 

 สรุป  ลมบกและลมทะเลเป็น ลมบกเกิดในเวลากลางคืน และลมทะเลเกิดในเวลากลางวัน


___________________________________________________________________________

 ลมทะเล ในเวลากลางวันพื้นดินรับความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ทำให้อากาศเหนือพื้นดิน มีอุณหภูมิ

สูงกว่า อากาศเหนือพื้นน้ำ  อากาศเหนือพื้นน้ำหรืออากาศเหนือพื้นน้ำ มีความกดอากาศสูงกว่า

อากาศ เหนือพื้นดิน เป็นผลให้อากาศเหนือพื้นน้ำมีความกดอากาศสูงกว่าเคลื่อน ที่เข้าเข้าหา

บริเวณพื้นดิน ที่มีความกดอากาศต่ำกว่าหรือเกิดลมพัดจากทะเลเข้าหาฝั่งในเวลากลางวัน




 ลมบก  ในเวลากลางคืนพื้นดินคลายได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ทำให้อากาศเหนือพื้นดินมีอุณหภูมิต่ำกว่า

อากาศเหนือ พื้นน้ำ หรืออากาศเหนือพื้นดินมีความกดอากาศสูงกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ เป็นผลให้

อากาศเหนือพื้นดิน ที่มี ความกดอากาศสูงกว่าเคลื่อนที่เข้าหาพื้นน้ำที่มีความกดอากาศต่ำกว่า หรือ

เกิดลมพัดจากบกออกสู่ฝั่งทะเลใน เวลากลางคืน

________________________________________________________________________

ประโยชน์ของลมบก ลมทะเล

        เรือประมงขนาดเล็กจะออกสู่ท้องทะเลเพื่อหาปลาในเวลากลางคืน โดยอาศัย“ลมบก”ที่พัดจาก

ฝั่งออกสู่ทะเล ในตอนกลางคืน พอรุ่งสางเรือเหล่านี้ก็จะอาศัย “ลมทะเล” ที่พัดจากทะเลเข้าฝั่งใน

เวลากลางวัน แล่นกลับเข้า สู่ฝั่งอีกครั้งนั้นเอง

ที่มา: http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/16/contents/p02.html

 

วัฏจักรของน้ำ

                  วัฏจักรของน้ำ คือ การเกิดและการหมุนเวียนของน้ำที่อยู่ในโลกนั่นเอง การหมุนเวียนของน้ำเป็น Cycle อาจเริ่มนับได้จากมหาสมุทร เมื่อน้ำระเหยจาก มหาสมุทรไปสู่บรรยากาศ เป็นไอน้ำแล้ว ความแปรปรวน ของลมฟ้าอากาศจะทำให้เกิด ฝนตกลงสู่ผิวโลก ในทะเลบ้าง บนผิวดินบ้าง น้ำฝนที่ตกบนดินก็จะเกิดการสูญเสียดูดซึม ลงดินเสียเป็นส่วนใหญ่ และด้วยเหตุอื่นบ้างเล็กน้อย เช่น ระเหย ขังในที่ลุ่ม พืชดูดไปใช้ ส่วนที่เหลือก็จะไหลเป็นน้ำท่าลงแม่น้ำลำธารออกทะเล ส่วนที่ซึมลงดินนั้นก็จะค่อย ๆ ซึมออกสู่แม่น้ำลำธาร และไหลออกทะเลไปเช่นกัน แต่อาจช้ากว่ามากซึ่งจะเห็นได้ว่าสุดท้าย น้ำจะระเหยกลายเป็นไอสู่บรรยากาศ วัฏจักรของน้ำจึงไม่มีเริ่มต้นไม่มีที่สิ้นสุด หมุนเวียนอยู่เช่นนี้ตลอดเวลา ปริมาณในขั้นตอนต่างๆ นั้นอาจผันแปรมากน้อยได้เสมอ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่ควบคุม ในขั้นตอนเหล่านั้น

ภาพ วัฏจักรของน้ำ